บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2018

เส้นโครงแผนที่คืออะไร (What is Map Projection?)

รูปภาพ
          แผนที่เป็นสิ่งที่แสดงรายละเอียดของสิ่งต่างๆบนพื้นผิวภูมิประเทศที่มีลักษณะแตกต่างไปตามพื้นที่ด้วยสัญญาลักษณ์ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน ลงบนกระดาษตามมาตราส่วน โดยใช้สีและสัญญาลักษณ์แทนรายละเอียดต่างๆของภูมิประเทศและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น อาคาร , ถนน , เสาไฟฟ้าฯ แผนที่จึงมีความจำเป็นอย่างมากในการช่วยวางแผนและศึกษารายละเอียดของพื้นที่และกำหนดตำแหน่งวัตถุบนภูมิประเทศในงานต่างๆ แต่ในความเป็นจริงจะพบว่ารายละเอียดต่างๆที่เกิดขึ้นบนแผนที่จะอยู่บนพื้นผิวภูมิประเทศที่ไม่แบนหรือราบ ดังนั้นจึงต้องมีการแปลงพื้นผิวโลกที่เป็นรูปทรงรีหรือ รูปทรงอิลิปซอย (ellipsoid) ให้อยู่ในรูปพื้นราบด้วยการใช้สมการทางคณิตศาสตร์เพื่อหาความสัมพันธ์ของพื้นผิว เราเรียกศาสตร์ของวิชานี้ว่า เส้นโครงแผนที่ (Map Projection) ลักษณะและคุณสมบัติของเส้นโครงแผนที่           โดยปกติการนำเส้นโครงแผนที่มาสร้างเป็นแผนที่ชนิดต่างๆ จะไม่สามารถแทนลักษณะพื้นผิวโลกได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้การทำแผนที่จึงต้องคำนึงว่าจะให้เส้นโครงแผนที่รักษา (Preserve) คุณสมบัติด้านใดซึ่งเมื่อพิจารณาในแง่ของคณิตศาสตร์ สามารถ

GNSS RTK NETWORK

รูปภาพ
           ปัจจุบันการรังวัดแบบจลน์ในทันทีหรือการรังวัดแบบ RTK นั้นสามารถทำได้ง่ายโดยใช้ระบบเครือข่ายสถานีรับสัญญาณดาวเทียมถาวร ( Continuously Operating Reference Station : CORS) หลักการคล้ายคลึงกับวิธีการรังวัดแบบจลน์ในทันที แต่แตกต่างกันที่ต้องขอรหัสผู้ใช้ ( user name) จากผู้ให้บริการเครือข่าย (ซึ่งในประเทศไทยให้บริการโดยกรมที่ดิน) โดยผู้ใช้งานใช้เครื่องรับสัญญาณเพียงเครื่องเดียวไปวางในตำแหน่งที่ต้องการทราบค่าพิกัดภายในพื้นที่ให้บริการ วิธีนี้สามารถให้ค่าความถูกต้องในระดับต่ำกว่า 4 เซนติเมตร ระบบเครือข่ายสถานีรับสัญญาณดาวเทียมถาวร CORS คืออะไร ? CORS ย่อมาจาก Continuously Operating Reference Station เป็นสถานีรับสัญญาณดาวเทียมแบบต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง สามารถนำมาแทนที่การวางสถานีฐานแบบดั้งเดิม (Base Station) ระบบ CORS ปัจจุบันได้มีการนำไปใช้ทั้งทางด้านอุตสาหกรรมการเกษตร การก่อสร้าง เหมืองแร่ การสำรวจและในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์           โดยปกติระยะห่างสูงสุดระหว่างสถานีฐาน (Base Station) และสถานีเคลื่อนที่ (Rover Station) จะอยู่ที่ประมาณ 10 – 15 กิโลเมตร ไม่เกินจากนี้เนื่องจา

พื้นหลักฐานอ้างอิงของประเทศไทย

รูปภาพ
           การกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลกให้มีความถูกต้องนั้น นอกจากวิธีที่ใช้ในการรังวัดต้องมีความถูกต้องสูงแล้ว สิ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน คือพื้นหลักฐานอ้างอิง (reference datum) ซึ่งใช้เป็นระบบอ้างอิงในการหาตำแหน่ง (reference system) และโครงข่ายทางยีออเดซี (geodetic network) ซึ่งประกอบด้วยหมุดหลักฐานที่รังวัดเชื่อมโยงกันเป็นโครงข่ายและมีค่าพิกัดบนระบบอ้างอิง โดยพื้นหลักฐานอ้างอิงมี 2 ชนิด คือ พื้นหลักฐานทางราบและพื้นหลักฐานทางดิ่ง           พื้นหลักฐานทางราบที่ใช้ในประเทศไทยมีหลายพื้นหลักฐาน ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะ พื้นหลักฐานอินเดียน พ.ศ. 2518 และพื้นหลักฐานสากล ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้           พื้นหลักฐาน Indian1975 ปี พ.ศ. 2518 องค์การแผนที่ กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ได้ทำการปรับแก้และย้ายศูนย์กำเนิดของพื้นหลักฐานจากเขากะเลียนเปอร์ ประเทศอินเดีย มาเป็นเขาสะแกกรัง จ.อุทัยธานี การปรับแก้ครั้งนี้ใช้เทคนิคการรังวัดจากดาวเทียมดอปเปลอร์จำนวน 9 สถานี ซึ่งตำแหน่งสัมพัทธ์ที่ได้จากการรังวัดดาวเทียมดอปเปลอร์ มีความถูกต้องสูงกว่าที่ได้จากงานโครงข่ายสามเหลี่ยม เป็นจุดควบคุ

ความคลาดเคลื่อนในการรังวัดดาวเทียมระบบ GPS

รูปภาพ
          เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าการรังวัดด้วยดาวเทียมมีข้อจำกัดอยู่หลายประการที่จะส่งผลต่อความถูกต้องของตำแหน่งที่ทำการรังวัดบนพื้นผิวโลก การศึกษาให้เข้าใจถึงปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อการรังวัดด้วยดาวเทียมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากเพื่อที่จะนำไปประยุกต์ใช้งานให้เกิดความผิดพลาดให้น้อยที่สุด           ความคลาดเคลื่อน ( Error ) ที่ส่งผลต่อความถูกต้องของเชิงตำแหน่งโดยการรังวัดด้วยดาวเทียม มีดังนี้ 1.)      ความคลาดเคลื่อนของวงโคจรดาวเทียม (Ephemeris Error)      วงโคจรดาวเทียมที่ผู้ใช้รับมานั้น เป็นวงโคจรที่ได้จากการคำนวณล่วงหน้า ดังนั้น ตำแหน่งดาวเทียม (อิฟิเมอริสดาวเทียม) จึงเป็นค่าจากการคำนวณล่วงหน้า โดยอาศัยรูปจำลองของแรงภายนอกต่างๆ ที่กระทำต่อดาวเทียม เช่น แรงดึงดูดจากดวงจันทร์ แรงดึงดูดจากดวงอาทิตย์ ลมสุริยะ ซึ่งส่งผลต่อตำแหน่งวงโคจรของดาวเทียม รูปจำลองที่ใช้อาจไม่สมบูรณ์ ฉะนั้น ตำแหน่งของดาวเทียมที่ได้จากอิฟิเมอริสดาวเทียม ที่ส่งกระจายลงมาพร้อมสัญญาณดาวเทียมนั้น จึงไม่ถูกต้อง ดังนั้นส่วนควบคุมจึงจำเป็นต้องปรับแก้ให้เที่ยงตรงอยู่เสมอ 2.)      ความคลาดเคลื่อนของนาฬิกาบนด

การหาค่าระดับด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมจีพีเอส (GPS Leveling)

รูปภาพ
          งานรังวัดด้วยดาวเทียมจีพีเอสในปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะงานที่ต้องการความถูกต้องแม่นยำเชิงตำแหน่งสูง ผลที่ได้จากการรังวัดด้วยดาวเทียมจะได้ค่าพิกัดในรูปแบบสามมิติ ค่าพิกัดทางดิ่งที่ได้จึงถือเป็นผลพลอยได้จากการรังวัด ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีผลการวิจัยหลายเรื่องที่ประยุกต์ใช้เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมจีพีเอสในการหาค่าระดับ ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยเหล่านี้ได้ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะนำเอาเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมจีพีเอสมาใช้ในการหาค่าระดับเหนือระดับทะเลปานกลางที่มีความถูกต้องระดับเซนติเมตรได้ 1)       หลักการหาค่าระดับจากการรังวัดดาวเทียมจีพีเอส      โดยทั่วไปค่าความถูกต้องของตำแหน่งทางราบที่ได้จากเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมจีพีเอสจะดีกว่าทางดิ่งประมาณ 2-3 เท่า ( Rizos, 1997 ) วิธีการหาตำแหน่งแบบสถิต (Static survey) โดยทั่วไปให้ค่าความถูกต้องทางราบอยู่ที่ระดับ 1 part per million (ppm) และทางดิ่งอยู่ที่ระดับประมาณ 1-2 ppm (Ayhan, 1993) ทั้งนี้เนื่องจากค่าพิกัดทางดิ่งที่ได้จากจีพีเอสนั้นยังเป็นค่าพิกัดทางดิ่งที่อ้างอิงอยู่กับพื้นผิวทรงรีหรือที่เ