บทความ

การประยุกต์ใช้งานระบบ GNSS

รูปภาพ
ปัจจุบันได้มีการนำเอาระบบ GNSS เข้ามาใช้ในงานด้านต่างๆ ไม่ว่าจะใช้ในด้านการนำทาง การระบุตำแหน่ง หรืองานที่ต้องการความละเอียดถูกต้องเชิงตำแหน่งสูงเช่น งานสำรวจ งานทำแผนที่ หรืองานออกแบบทางด้านวิศวกรรมเป็นต้น แต่ระบบ GNSS ไม่ได้มีดีแค่การนำทางหรือระบุตำแหน่งเพียงอย่างเดียว เรายังสามารถนำระบบนี้ไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ที่ผ่านมามีผู้ศึกษาวิจัยประยุกต์ใช้ระบบ GNSS กับงานประเภทต่างๆ สำหรับบทความนี้แบ่งแอพพลิเคชั่นออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1) การจัดการป้องกันและบรรเทาสารธารณภัย ( Disaster Mitigation and Management ) 2) การบริการบอกตำแหน่ง ( Location based Services ) 3) การเกษตรความแม่นยำสูง ( Precise Agriculture ) 4) แนะนำหรือควบคุมเครื่องจักรและการสำรวจ ( Construction machine guidance/control and survey ) และ 5) ระบบขนส่งอัจฉริยะ( Intelligence Transportation Systems )   การประยุกต์ใช้ระบบ GNSS กับงานประเภทต่างๆ ตามความต้องการ มีรายละเอียดดังนี้ 1. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( Disaster Mitigation and Management) เช่น งานตรวจสอบสึนามิ งานอุตุนิยมวิทยา งานติดตามและเฝ้าระวั

การวางแผนการสำรวจภาคพื้นดิน

รูปภาพ
          จุดควบคุมภาคพื้นดิน ( Ground Control Point : GCP ) หมายถึง จุดใดๆที่ทราบค่าพิกัดในระบบพิกัดภูมิประเทศ เป็นตัวกลางที่ทำให้สามารถจัดภาพให้มีความสัมพันธ์อ้างอิงกับพื้นภูมิประเทศ แบ่งออกเป็น -           จุดควบคุมทางราบ ( Horizontal Control Point ) -           จุดควบคุมทางดิ่ง ( Vertical Control Point ) ระบบพิกัดอ้างอิง ในระบบพิกัดภูมิประเทศ ที่ใช้โดยทั่วไป แบ่งออกเป็น พิกัดทางราบ ได้แก่ -           ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ ละติจูด , ลองจิจูด ( ϕ , λ ) -           ระบบพิกัดกริด UTM Easting, Northing ( N, E ) พิกัดทางดิ่ง ได้แก่ -           ระดังสูงเหนือพื้นอ้างอิง เช่น ระดับทะเลปานกลาง (Mean Sea Level : MSL) จุดควบคุมหลัก ( Basic Control) หมายถึง หมุดหลักฐานทางราบและหมุดระดับ ซึ่งจะใช้เป็นหมุดอ้างอิงต่อไป ในการหาค่าพิกัดของจุดควบคุมภาพถ่าย จุดควบคุมภาพถ่าย ( Photo Control ) หมายถึง จุดควบคุมภาคพื้นดินที่ทำการรังวัดออกจากหมุดควบคุมหลัก เป็นจุดที่มีจุดภาพปรากฏและชี้จำแนกได้อย่างถูกต้องบนภาพถ่าย ใช้เป็นจุดควบคุมสำหรับงานสำรวจด้วยภาพถ่าย ชนิดชุดควบคุม

การวางแผนการถ่ายภาพทางอากาศ

รูปภาพ
          การถ่ายทางอากาศให้ประสบความสำเร็จ จะต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ ซึ่งสิ่งแรกที่จะต้องคำนึงถึงคือ ผลผลิตแผนที่ (Map products) ที่ต้องการ และอื่นๆ เช่น มาตราส่วน ความละเอียดถูกต้อง (Accuracy) งบประมาณและระยะเวลาในการปฏิบัติ เป็นต้น การวางแผนการบินถ่ายภาพ           ความสำเร็จในการสำรวจถ่ายภาพทางอากาศขึ้นอยู่กับ ภาพที่มีคุณภาพดี ซึ่งจะได้จาก การวางแผนอย่างระมัดระวัง และการปฏิบัติที่เที่ยงตรงตาม แผนการบิน ( Flight Map ) และเกณฑ์กำหนด ( Specification ) 1.) แผนที่แนวบิน ( Flight Map ) แสดงตำแหน่งถ่ายภาพที่จะเตรียมขึ้นบินในบริเวณโครงการ โดยนักบินจะเลือกสิ่งเด่นๆที่ปรากฏในแนวบินอย่างน้อยสองจุด และบังคับเครื่องบินให้เส้นแนวบิน (line of flight) ผ่านเหนือจุดนั้นๆ หรือใช้ระบบ GPS เพื่อนำร่องไปตามเส้นแนวบินที่กำหนดไว้ล่วงหน้า พื้นที่โครงการที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าจะสามารถครอบคลุมได้สะดวกที่สุดตามแนว เหนือ - ใต้ หรือ ตะวันออก – ตะวันตก โดยหลังจากเลือกความยาวโฟกัสของกล้อง มาตราส่วนภาพถ่าย ส่วนซ้อน และส่วนเกยแล้วก็สามารถเตรียมแผนที่แนวบินได้ 2.) เกณฑ์กำ

เส้นโครงแผนที่คืออะไร (What is Map Projection?)

รูปภาพ
          แผนที่เป็นสิ่งที่แสดงรายละเอียดของสิ่งต่างๆบนพื้นผิวภูมิประเทศที่มีลักษณะแตกต่างไปตามพื้นที่ด้วยสัญญาลักษณ์ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน ลงบนกระดาษตามมาตราส่วน โดยใช้สีและสัญญาลักษณ์แทนรายละเอียดต่างๆของภูมิประเทศและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น อาคาร , ถนน , เสาไฟฟ้าฯ แผนที่จึงมีความจำเป็นอย่างมากในการช่วยวางแผนและศึกษารายละเอียดของพื้นที่และกำหนดตำแหน่งวัตถุบนภูมิประเทศในงานต่างๆ แต่ในความเป็นจริงจะพบว่ารายละเอียดต่างๆที่เกิดขึ้นบนแผนที่จะอยู่บนพื้นผิวภูมิประเทศที่ไม่แบนหรือราบ ดังนั้นจึงต้องมีการแปลงพื้นผิวโลกที่เป็นรูปทรงรีหรือ รูปทรงอิลิปซอย (ellipsoid) ให้อยู่ในรูปพื้นราบด้วยการใช้สมการทางคณิตศาสตร์เพื่อหาความสัมพันธ์ของพื้นผิว เราเรียกศาสตร์ของวิชานี้ว่า เส้นโครงแผนที่ (Map Projection) ลักษณะและคุณสมบัติของเส้นโครงแผนที่           โดยปกติการนำเส้นโครงแผนที่มาสร้างเป็นแผนที่ชนิดต่างๆ จะไม่สามารถแทนลักษณะพื้นผิวโลกได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้การทำแผนที่จึงต้องคำนึงว่าจะให้เส้นโครงแผนที่รักษา (Preserve) คุณสมบัติด้านใดซึ่งเมื่อพิจารณาในแง่ของคณิตศาสตร์ สามารถ