สาระน่ารู้เกี่ยวกับระบบ GPS

               

               

GPS ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นผิวโลก ย่อมาจากคำว่า Global Positioning System ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่
               

                1.ส่วนอวกาศ  (Space segment) ประกอบไปด้วยเครือข่ายดาวเทียม ที่มีชื่อว่า NAVSTAR (Navigation Satellite Timing and Rankging GPS) บริหารโครงการโดย Department of Defenes ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันได้ปล่อยออกสู่อวกาศทั้งหมด 28 ดวง แต่ใช้งานจริงแค่ 24 ดวง สำรอง 4 ดวง ใช้เวลาในการโคจรรอบโลก 12 ชั่วโมง
                ปัจจุบันประชาชนทั่วไปสามารถใช้งานข้อมูลจากดาวเทียม (NAVSTAR) ได้ฟรี ซึ่งจะได้ความแม่นยำอยู่ที่ บวก/ลบ 10 เมตร
                
                2.ส่วนควบคุม (Control segment) ประกอบไปด้วยสถานีภาคพื้นดินจำนวน 5 สถานี โดยมีสถานีหลักอยู่ที่ ฐานทัพอากาศในเมือง Colorado Springs ประเทศสหรัฐอเมริกา และสถานีที่คอยติดตามรังวัดดาวเทียมอยู่ตลอดเวลาอยู่ที่ Hawaii, Ascension, Diego Garcia, Kwajalein โดยมีสถานี Ascension, Diego Garcia, Kwajalein เป็นสถานีรับส่งข้อมูลด้วย
                
                3.ส่วนผู้ใช้งาน (User segment) ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่ผู้ใช้ใช้ในการับสัญญาณและแปรรหัสจากดาวเทียม เพื่อบอกตำแหน่ง ความเร็ว และเวลาโดยประมาณ และถ้าหากต้องการจะได้ค่า X,Y,Z (Position) และ T (เวลา)  จะต้องใช้ดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง โดยความถูกต้องของตำแหน่งจะขึ้นอยู่กับ นาฬิกา อะตอม ที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียมและจะต้องมีความถูกต้องสามารถวัดได้ในเวลา 0.000000003 วินาที หรือ 3 นาโนวินาที (nanoseconds)

การทำงานของระบบ GPS
                

                ดาวเทียม GPS  (NAVSTAR) ประกอบด้วยดาวเทียมที่ใช้งานทั้งหมด 24 ดวง สำรอง 4 ดวง โดยจะแบ่งวงโคจรออกเป็น 6 วงโคจร วงโคจรละ 4 ดวง ทำมุมเอียง 55 องศากับเส้นศูนย์สูตร (Equator) ในลักษณะคล้ายลูกตะกร้อ มีรัศมีวงโคจรจากพื้นโลก 20,162.81 กิโลเมตร โดยดาวเทียมแต่ละดวงใช้เวลาในการโคจรรอบโลก 12 ชั่วโมง
                
                การทำงานของระบบ GPS จะทำงานโดยการรับส่งสัญญาณดาวเทียมแต่ละดวงสู่อุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมผ่านบริการเคลือข่าย ซึ่งภายในสัญญาณดาวเทียมก็จะประกอบไปด้วยข้อมูลตำแหน่งและเวลาที่ใช้ในการส่งข้อมูล จากนั้นอุปกรณ์รับสัญญาณก็จะประมวลผลโดยการคำนวณความแตกต่างของเวลาเทียบกับเวลาจริง ณ ปัจจุบันแปรเป็นระยะทางระหว่างอุปกรณ์รับสัญญาณกับดาวเทียมแต่ละดวง ซึ่งจะทำให้รู้พิกัด เวลา และระยะทางนั่นเอง
                
                ดังนั้นถ้าถ้าต้องการให้เกิดความแม่นยำในการค้นหาตำแหน่งด้วยดาวเทียม จะต้องใช้ดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง เพื่อบอกตำแหน่งบนผิวโลก ซึ่งระยะห่างดาวเทียมทั้ง 3 ดวงกับอุปกรณ์รับสัญญาณ GPS จะสามารถระบุตำแหน่งบนพื้นผิวโลกได้ในแนวระนาบ แต่ในความเป็นจริงแล้วโลกของเราไม่ได้แบนเหมือนแผ่นกระดาษแต่จะอยู่ในลักษณะคล้ายๆทรงรี และมีระดับความสูงต่ำของพื้นผิวที่ไม่เท่ากันจึงส่งผลให้ตำแหน่งมีความคลาดเคลื่อนไป เราจึงจำเป็นต้องใช้ดาวเทียมดวงที่ 4 เพื่อมาช่วยในการคำนวณความสูงเพื่อทำให้ตำแหน่งมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น

การประยุกต์ใช้งาน GPS
                
                GPS สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆมากมาย อาทิเช่น
- แสดงการนำร่องของยานพาหนะต่างๆจากที่หนึ่งไปที่อื่นๆตามต้องการ เช่น เครื่องบิน เรือ รถยนต์ และจักรยานยนต์ เป็นต้น
- แสดงการประยุกต์ใช้ Software GPS ในการทำแผนที่และแปลภาพถ่ายทางอากาศ
- การประยุกต์ใช้ GPSในการควบคุมเครื่องจักรกล เช่น เครื่องจักรกลในการทำเกษตรกรรม เครื่องจักรกลที่ใช้ในการขนส่งบริเวณท่าเรือ
- การประยุกต์ใช้ GPS ในด้านการขนส่งทางน้ำและทางทะเล (Maritime)
- การประยุกต์ใช้ GPS กับระบบการจราจรและการขนส่ง (Intelligent Transport Systems: ITS) ในการแก้ปัญหาจราจร การปรับปรุงความปลอดภัย การเพิ่มประสิทธิภาพระบบคมนาคมขนส่ง และการใช้ระบบการประกันรถยนต์ (L-Commerce)
- การประยุกต์ใช้ GPS กับการตรวจวัดการเคลื่อนตัวของโครงสร้างทางวิศวกรรมหรือเปลือกโลก
- การใช้อ้างอิงการวัดเวลาที่เที่ยงตรงที่สุดในโลก
- การประยุกต์ใช้ GPS ในการออกแบบเครือข่าย คำนวณตำแหน่งที่ตั้งด้านโทรคมนาคมและด้านพลังงาน เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำมัน
- การประยุกต์ใช้ GPS ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การติดตามตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อม
- การประยุกต์ใช้ GPS ในด้านอื่นๆ เช่น การเงินการธนาคาร

อ้างอิงข้อมูลจาก : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA),กลุ่มวิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มธ. (GCOM),www.thaosoftgun.com, global5 co., ltd. , Wikipedia

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เส้นโครงแผนที่คืออะไร (What is Map Projection?)

เทคนิคการรังวัดหาค่าพิกัดดาวเทียมด้วยระบบ GNSS

การวางแผนการสำรวจภาคพื้นดิน